วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่ 3 วันศุกร์ที่ 23 เดือน มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน

องค์ความรู้

=> ทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางสติปัญญา
=> อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันท่องคำคล้อจองเจ็ดวันบันเทิง ประกอบด้วย
                           คำคล้องจอง หน้า - กลาง - หลัง
                       เรือใบ    สีแดง     แล่นแซง     ขึันหน้า
                       เรือใบ    สีฟ้า       ตามมา        อยู่กลาง
                       เรือใบ    ลำไหน   แล่นอยู่       ข้างหน้า
                       สีขาว     ช้าจัง      อยู่หลัง       สุดเลย
                                
                                 คำคล้องจอง ใหญ่ - เล็ก
                    มาลี          เดินมา       เห็นหมา      ตัวใหญ่
                    มาลี          ร้องไห้       ตกใจ           กลัวหมา
                    เห็นแมว   ตัวน้อย       ค่อยค่อย      ก้าวมา
                    แมวเล็ก    กว่าหมา    มาลี             ไม่กลัว
      การจัดประสบการณ์ด้วยคำคล้องจองดังกล่าว เด็กสามารถเรียนรู้ภาษา และคณิตศาสตร์ คือ การเรียงลำดับ และขนาด


ทักษะ

       อาจารย์พูดคุย ซักถามโดยให้นักศึกษาช่วยกันแสดงความรู้เดิม และแสดงความคิดเห็นสรุป 
เรื่อง แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางสติปัญญา
        ความหมาย
        หลักการ
        องค์ประกอบ
        ปัจจัย
        พัฒนาการตามวัย
        คุณลักษณะที่พึงประสงค์
        
แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางสติปัญญา
      
      ความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการ
พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง และสะท้อนความสามารถของเด็กในแต่ละช่วงวัย 
    เช่น ขั้นบันได
ประโยชน์ของพัฒนาการ คือ ทำให้ผู้สอนรู้จัก เข้าใจ และตระหนักถึงความแตกต่างของเด็ก นำมาซึ่งการจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับเด็กแต่ละคน          
       
      ความหมายและประโยช์ของการเรียนรู้ 
การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการทางความคิดและจิตใจที่มีผลมาจากกระบวนการรับและตีความสิ่งเราตาง ๆ ที่มาสัมผัส ดวยความแตกตางกันทางดานปัจจย และประสบการณที่ผานมาคนแตละคนจึงมีการรับรูที่แตกต่างกัน ซึ่งการรับรูจะสงผลตอพฤติกรรมของบุคคลที่แสดงออกตอการรับรูในสิ่งนั้น ๆ

การรับรู้              >>>            สมอง          >>>        การเรียนรู้       =       พฤติกรรม
  ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5                ประมวลผล   

ประโยชน์ของการเรียนรู้ คือ ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับวิธีการเรียนรู้ และบุคคลสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข    

     พัฒนาการทางสติปัญญาตามแนวความคิด    

เพียตเจต์
     พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้        1.   ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage)  เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่
    2.   ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage)  เริ่มตั้งแต่อายุ 2 - 7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก ขั้น คือ
ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2 - 4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผล เกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่
 ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4 - 7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของ

บรูเนอร์
      ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ
  1. ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
  2. ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
  3. ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
ไวก๊อตสกี้
        การจัดการเรียนรู้จะต้องคำนึงถึงระดับพัฒนาการ 2 ระดับ คือ ระดับพัฒนาการที่เป็นจริง (Actual Development Level) และระดับพัฒนาการที่สามารถจะเป็นไปได้ (Potential Development Level) ระยะห่างระหว่างระดับพัฒนาการที่เป็นจริงและระดับพัฒนาการที่สามารถจะเป็นไปได้ เรียกว่า พื้นที่รอยต่อพัฒนาการ (Zone of Proximal Development)




วิธีการสอน
       อาจารย์มีการใช้คำถาม เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิด เช่นพัฒนาการ และการเรียนรู้คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร และเราสามารถศึกษาพัฒนาการเด็กจากหนังสือใด ใช้สื่อ power point ในการบรรยาย และใช้คำคล้องจองนำเข้าสู่บทเรียน




การประยุกช์ใช้

ผู้สอน
1. จัดประสบการณ์ให้เด็กด้วยกลอน คำคล้องจอง หรือเพลง
2. อาจดัดแปลงเนื้อเพลง หรือคำคล้องจองให้สอดคล้องกับเรื่องที่สอน
3. สังเกตพฤติกรรมเด็กรายบุคคล และจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้
4. ส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้สอดคล้องกับวุฒิภาวะของเด็ก

ตนเอง
1. ศึกษาพัฒนาการเด็กจากหนังสือหลักสูตร หรือคู่มือหลักสูตร
2. เข้าใจ และให้อภัยต่อพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของผู้อื่น 
3. ปรับปรุง แก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของตนเอง
4. ชื่นชม ยกย่องพฤติกรรมที่ดีงามของผู้อื่น




ประเมิน

สภาพห้องเรียน
เทคโนโลยีภายในห้องเรียนไม่พร้อมต่อการใช้งาน คือ จอโปรเจคเตอร์ขาดความชัดเจน และคอมพิวเตอร์ไม่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ทได้ เก้าอี้บางตัวชำรุด การจัดเก้าอี้มีระยะห่าง ทำให้สามารถมองเห็นอาจารย์ผู้สอนได้ชัดเจน และอากาศถ่ายเท เย็นสบาย

ตนเอง
จดบันทึก สรุปความจากอาจารย์บรรยาย แนะนำ และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

เพื่อน
เข้าชั้นเรียนตรงเวลา มีความสนใจและตั้งใจเรียน แสดงความคิดเห็น และตอบคำถามอาจารย์

อาจารย์
อาจารย์ให้ความเป็นกันเอง บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม การแต่งกายสะอาดสะอ้าน และเป็นระเบียบเรียบร้อย พูดเสียงดังชัดถ้อยชัดคำ เข้าสอนตรงเวลา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม แสดงความคิดเห็น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น