วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่ 9 วันศุกร์ที่ 13 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน

องค์ความรู้

         
           เพิ่มเติมการนำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์

   การสอนแบบสมองเป็นฐาน




ตัวอย่างการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนโดยใช้สมองเป็นฐาน

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain  Based  Learning)
      1. เด็กเกิดการตื่นตัวแบบผ่อนคลาย
      2. จดจ่อในสิ่งเดียวกัน
      3. การลงมือกระทำด้วยตนเอง

การสอนแบบมอนเตสซอรี่



ตัวอย่างการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนตามแนวคิดของมอนเตสเซอรี่

กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
       สาระที่ 2 การวัด 
            1. การวัดความยาวของสิ่งต่างๆเป็นการหาความยาวตามแนวนอน / การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง
            2. การวัดความยาว  ความสูง ของสิ่งของต่างๆ อาจใช้เครื่องมือที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
            3. ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า/ต่ำกว่า ยาวเท่ากัน สูงเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบความยาว/ความสูงของสิ่งของต่าๆ
            4. การเรียงลำดับความยาว/ความสูง อาจเรียงจากน้อย >> มาก หรือ มาก >> น้อย
            5. การชั่งน้ำหนักของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องวัดชั่งน้ำหนักที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน
            6. หนักกว่า เบากว่า หนักเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบน้ำหนกของสิ่งต่างๆ
            7. การเรียงลำดับน้ำหนักของสิ่งต่างๆ อาจเรียงจากน้อย >> มากหรือจากมาก >> น้อย
            8. การตวงของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือตวงที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
            9. ปริมาตรมากกว่า ปริมาตรน้อยกว่า ปริมาตรเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบปริมาตรของสิ่งต่างๆ
            10. การเรียงลำดับของสิ่งต่างๆ อาจเรียงจากน้อย >> มาก หรือจากมาก >> น้อย 
            11. เงินเหรียญและธนบัตร เป็นสิ่งที่ใช้ในการซื้อขาย
            12. ตัวเลขที่ด้านหลังเงินเหรียญ บอกค่าของเงินเหรียญแต่ละเหรียญ
            13. ตัวเลขที่อยู่บนธนบัตร บอกค่าของธนบัตรแต่ละฉบับ
            14. บาทเป็นหน่วยของเงิน
            15. เวลาแต่ละวันแบ่งเป็น 2 ช่วงใหญ่ๆ คือ กลางวันและกลางคืน
            16. เช้า เที่ยง เย็น เมื่อวาน วันนี้ พรุ่งนี้ เป็นคำที่ใช้บอกช่วงเวลาต่างๆ
            17. 1 สัปดาห์ มี 7 วันเรียงลำดับดังนี้ วันอาทิตย์ วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ และวันเสาร์

       สาระที่ 3 เรขาคณิต
            1. ข้างบน ข้างล่าง ข้างใน ข้างนอก ข้างหลัง ระหว่าง ข้างซ้าย ข้างขวา ใกล้ ไกล เป็นคำที่ใช้บอกตำแหน่ง ระยะ ทิศทางของสิ่งต่างๆ
            2. การจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก และรูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม ใช้วิธีพิจารณารูปร่างและขอบของรูป

       สาระที่ 4 พีชคณิต
            แบบรูปเป็นความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณะสำคัญร่วมของชุด ของจำนวนรูปเรขาคณิตหรือสิ่งต่างๆเช่น การต่อรูปให้เข้าชุดกับแบบที่กำหนด

       สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น 
            1. การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีสังเกตุหรือสอบถามก็ได้
            2. แผนภูมิรูปภาพเป็นการนำเสนอข้อมูลอย่างง่าย โดยใช้รูปภาพแสดงจำนวนของสิ่งต่างๆ อาจวาดรูปตามแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้

        สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
             ใช้นิทานในการสอนบวก ลบจำนวน


ทักษะ

การรายงานวิจัยหน้าชั้นเรียนของเพื่อนเลขที่ 22 - 24
   
    เลขที่ 22  เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
                   สรุป การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้วยขั้นตอน ดังนี้                              
                             1. ขั้นกระตุ้น โดยใช้คำถามดึงดูดให้เด็กเกิดความสนใจที่จะเรียนรู้
                             2. ขั้นกรองสู่มโนทัศน์ ทำให้เด็กได้เห็นภาพ(รูปธรรม)โดยนำของจริงมาให้เด็กได้ดู และสัมผัส
                             3. ขั้นย้ำเพื่อพัฒนาโดยใช้ศิลปะให้เด็กได้ลงมือทำ
                             4. ขั้นสรุปความรู้ที่ได้


    เลขที่ 24  เรื่อง พัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้เพลง
                   สรุป การพัฒนาความพร้อมโดยใช้กิจกรรมเคลื่อนไหว และดนตรี
                           วิธีการจัดประสบการณ์
                              1. ครูใช้เพลงเป็นสื่ัอในการจัดกิจกรรม
                              2. เด็กเคลื่อนไหวประกอบเพลง
                              3. สร้างกติกาให้เด็กได้เล่นเกมจากเพลง
                              4. ใช้เพลงประกอบคณะเด็กทำกิจกรรม
                              5. จัดกิจกรรมสัปดาห์ละ 2 วัน และเปลี่ยนเพลงไปเรื่อยๆ

กิจกรรม การสำรวจผลไม้ที่เด็กชอบ
    สตอเบอรี่
    แตงโม 
    มะพร้าว
    ส้มโอ


สรุปข้อมูลจากตาราง

การฝึกร้องเพลงที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


เพลง 
มาลีเดินมาเห็นหมาตัวใหญ่
มาลีตกใจร้องให้กลัวหมา
เห็นแมวตัวน้อยค่อยๆก้าวมา
แมวเล็กกว่าหมามาลีไม่กลัว

           *** เนื้อหาในเพลงสามารถนำไปดัดแปลงให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่จัดได้ ***




วิธีการสอน

       อาจารย์มีการใช้คำถาม ให้ข้อเสนอแนะ อธิบายเพิ่มเติมจากการนำเสนอของนักศึกษา และใช้สื่อ power point ในการบรรยาย ทบทวนความรู้เดิม


ประเมิน

สภาพห้องเรียน
เทคโนโลยีภายในห้องเรียนพร้อมต่อการใช้งาน เก้าอี้เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา อากาศภายในห้องถ่ายเท

ตนเอง
เข้าชั้นเรียนไม่ตรงเวลา (เข้าสาย) ตั้งใจเรียน แสดงความคิดเห็น และจดบันทึก สรุปเนื้อหาที่อาจารย์สอน

เพื่อน
เข้าชั้นเรียนตรงเวลา แสดงความคิดเห็น และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

อาจารย์
อาจารย์ให้ความเป็นกันเอง บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม การแต่งกายสะอาดสะอ้าน และเป็นระเบียบเรียบร้อย พูดเสียงดังชัดถ้อยชัดคำ เข้าสอนตรงเวลา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม แสดงความคิดเห็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น