วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่ 8 วันศุกร์ที่ 06 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน

องค์ความรู้

           สาระที่ควรเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ประกอบด้วย
               1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก 
               2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
               3. ธรรมชาติรอบตัว 
               และ 4. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
  
           นำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์
               
การสอนแบบโครงการ
ความหมายของการสอนแบบโครงการ

  • ให้โอกาสเด็กเรียนรู้โดยการสืบค้นหาข้อมูลอย่างลึกในหัวเรื่องที่เด็กสนใจ
  • หัวเรื่องที่ถูกเลือกควรมีความหมายต่อตัวเด็ก และครูามารถบูรณาการเนื้อหา เช่น  คณิตศาสตร์ ภาษา วิทยาศาสตร์
  • การค้นหาคำตอบจากคำถามที่เกี่ยวกับหัวเรื่อง
  • เด็กมีโอกาสที่จะวาแผนสืบค้นด้วยตนเอง โดยมีครูช่วยเหลือ
หัวเรื่อง
  • เกิดจากการตกลงระหว่างเด็กกับครู พร้อมกับบูรณาการเป้าหมายของหลักสูตร
  • เกณฑ์การเลือกหัวเรื่องขึ้นอยู่กับความสนใจของเด็ก
การจัดระสบการณ์
  • ครูสังเกตการสืบค้นของเด็ก
  • ใช้ความสนใจของเด็กเป็นเครื่องตัดสินการดำเนินโครงการ
การกำหนดจุดประสงค์
  • ครูทำ web ประเมินความรู้เดิมของเด็กแล้วจึงเตรียมโครงการให้เด็กเรียนรู้สิ่งที่เด็กไม่ทราบ
  • บูรณาการจุดประสงค์ของหลักสูตรเข้ไปด้วยขณะที่โครงการกำลังดำเนินอยู่ และต้องให้เด็กได้สืบค้นอย่างสม่ำเสมอ
ความรู้ที่ได้รับ
  • เกิดจากการสืบค้นคำตอบจากคำถาม
  • เด็กมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทำกิจกรรมร่วมในเหตุการณ์ต่างๆ

แหล่งข้อมูลต่างๆ
  • ถูกนำมาโดยเด็ก ครู และผู้เชี่ยวชาญที่มาเยี่ยมเยียนห้องเรียนหรือจากการออกนอกภาคสนาม
กิจกรรม
  • กิจกรรมต่างๆ จะเน้นการสังเกต สืบค้นหาคำตอบจากคำถาม
  • การใช้แหล่งข้อมูลต่างๆ ครูจะช่วยบูรณาการแนวคิดระหว่างการอภิปรายและการสรุป
การนำเสนอ
  • ท้าทายเด็กให้บูรณาการแนวคิดต่างๆ เข้าด้วยกัน
  • ข้อมูลที่นำเสนอคือสิ่งที่เด็กเรียนรู้ควาเข้าใจทักษะที่เกิดขึ้น ซึ่งแสดงความก้าวหน้าของโครงการ
กระบวนการ
         1. การอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) 
          2. การทำงานภาคสนาม (Field Work) 
          3. การนำเสนอประสบการณ์ (Representation) 
          4. การสืบค้น (Investigation) 
          5. การจัดแสดง (Display) 

ระยะของโครงการ
             ระยะที่ 1 ทบทวนความรู้เดิมและความสนใจของเด็ก
             ระยะที่ 2 ให้เด็กมีประสบการณ์ใหม่ และมีโอกาสสืบค้นเพื่อหาคำตอบ
             ระยะที่ 3 ประเมิน สะท้อนความคิด และแลกเปลี่ยนงานโครงการ

การสอนแบบสมองเป็นฐาน

    BBL (Brain-based Learning) คือการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการของสมองแต่ละช่วงวัย เป็นการนำองค์ความรู้เรื่องสมองมาใช้เป็นฐานในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้

พื้นฐาน 3 ข้อของการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain based Learning: BBL) 
     1. การทำให้เด็กเกิดการตื่นตัวแบบผ่อนคลาย 
         - การสร้างบรรยากาศให้เด็กไม่รู้สึกเหมือนถูกกดดัน แต่มีความท้าทาย ชวนให้ค้นคว้าหาคำตอบ
     2.การทำให้เด็กจดจ่อในสิ่งเดียวกัน
          - การใช้สื่อหลาย ๆ แบบ รวมทั้งการยกปรากฏการณ์จริงมาเป็นตัวอย่าง และการเปรียบเทียบให้เห็นภาพ 
         - การเชื่อมโยงความรู้หลาย ๆ อย่าง 
         - การอธิบายปรากฏการณ์ด้วยความรู้ที่เด็กได้รับ
     3.ทำให้เกิดความรู้จากการกระทำด้วยตนเอง 
         - การให้เด็กได้ลงมือทดลอง ประดิษฐ์ หรือได้เล่าประสบการณ์จริงที่เกี่ยวข้อง 


การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ไปประยุกต์ใช้ในองค์กรในการบริหารจัดการศึกษาได้ดังนี้
                1.  ในการเรียนการสอน เรียนรู้จากง่ายไปหายาก มีลำดับและเชื่อมโยงกันเสมอ
                2.  วิธีการเรียนต้องสนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ
                3.  เน้นให้นักเรียนได้ใช้ความคิด ทั้งคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ และใช้จินตนาการพร้อมให้โอกาสแสดงความคิดเห็น
                4.  ในการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด ควรจะฝึกให้เด็กได้ปฏิบัติดังนี้
                                4.1  ฝึกสังเกต
                                4.2  ฝึกบันทึก
                                4.3  ฝึกการนำเสนอ
                                4.4  ฝึกการฟัง
                                4 .5  ฝึกการอ่าน
                                4.6  ฝึกการตั้งคำถาม
                                4.7  ฝึกการเชื่อมโยงทางความคิด
                                4.8  ฝึกการเขียนและเรียบเรียงความคิดเป็นตัวหนังสือ

การสอนแบบ STEM 

     STEM เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษของศาสตร์ 4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology)  วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) หมายถึงองค์ความรู้ วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงาน

การสอนแบบมอนเตสซอรี่

เน้นการเรียนรู้ตามลำดับขั้น ไม่ต้องการให้เด็กลองผิดลองถูก สร้างสมาธิ ความมั่นใจ ครูสามารถวินิจฉัยและแก้ปัญหาการเรียนรู้ของเด็กได้ โดยสาธิตและฝึกให้เด็กเรียนรู้และตัดสินใจด้วยตนเอง
วิธีการสอนสามขั้นตอนดังกล่าว Hainstock อธิบายไว้ ดังนี้
      ขั้นแรก  สังเกตเห็นลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น (Recognition of Identity ) ทำให้เชื่อมโยงสิ่งที่ครูสาธิตให้ดูกับชื่อของสิ่งนั้นได้ “ นี่ คือ …”
ขั้นสอง  สังเกตเห็นความแตกต่าง ( Recognition of Contrasts ) มั่นใจว่า เด็กเข้าใจเมื่อบอกเด็กว่า “ หยิบ …”
ขั้นสาม  เห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งของที่มีความคล้ายคลึงกัน (Discrimination Between Similar Objects) ขั้นตอนนี้เพื่อที่จะได้ทราบว่าเด็กจำชื่อสิ่งต่างๆ ที่ครูสาธิตให้ดูได้หรือเปล่า เช่น ชี้ที่ของหลายๆ สิ่ง แล้วถามว่า     “ อันไหน คือ …”

ประโยชน์ที่เด็กได้รับ
      1. มีพัฒนาการทุกด้านเต็มตามศักยภาพ
      2. มีระเบียบวินัย
      3. มีสมาธิในการทำงาน รักความสงบ
      4. ควบคุมตนเองและพึ่งพาตนเองได้
      5. ทำงานร่วมกับผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่น
      6. รู้สิทธิของตนเองและเคารพสิทธิของผู้อื่น 
      7. มีมารยาทตามวัฒนธรรมที่ตนอาศัยอยู่
      8. รักอิสระและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
      9. รักสิ่งแวดล้อม


การสอนแบบเดินเรื่อง
     ลักษณะเด่นของวิธีสอน 
        1.กำหนดเส้นทางการเดินเรื่อง (Storyline) และจัดเรียงเป็นตอนๆ (Episode) ด้วยการใช้คำถามหลัก (Key Questions) เป็นตัวกำหนดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้
        2.เน้นการใช้กิจกรรม (Activity Based Approach) ให้สอดคล้องกับคำถามหลัก และเนื้อหาการผูกเรื่อง ซึ่งมีดังนี้                   
            1) ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนมากที่สุด          
            2) ยึดกลุ่มเป็นแหล่งความรู้ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน           
            3) ให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยเน้นกระบวนการควบคู่กับความรู้          
            4) เน้นการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน        
        3.เน้นให้ผู้เรียนสร้าง (Construct) ความรู้ด้วยตนเอง โดยมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอย่างกระฉับกระเฉง เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย สามารถพัฒนาผู้เรียน ทั้งด้านสติปัญญา (Head) ด้านอารมณ์ เจตคติ (Heart) และด้านทักษะปฏิบัติ (Hands) เป็นวิธีสอนที่ให้อำนาจแก่ ผู้เรียน (Learner Empowerment) คือ ให้โอกาสสร้างความรู้หรือปรับแต่งโครงสร้างความรู้ด้วย ตนเองอย่างเป็นอิสระ และแสดงถึงกระบวนการในการได้มาซึ่งความรู้นั้นๆ รับผิดชอบต่อ ความรู้ที่สร้างขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Long Life Learning)
        4.เป็นการเรียนตามสภาพจริง (Authentic Learning) มีการบูรณาการระหว่างวิชา (Integration)
        5.มีเหตุการณ์ (Incidents) เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้แก้ไขปัญหาและเรียนรู้
        6.แต่ละเรื่อง หรือแต่ละเหตุการณ์ที่กำหนด ต้องมีการระบุสิ่งต่อไปนี้ หรือมีองค์ประกอบต่อไปนี้
           1) กำหนดฉาก โดยระบุสถานที่และเวลาโดยเฉพาะ
           2) ตัวละคร อาจเป็นคนหรือเป็นสัตว์
           3) วิถีการดำเนินชีวิตเพื่อใช้ศึกษา
           4) ปัญหาที่รอการแก้ไข
   
                      


ทักษะ

การฝึกร้องเพลงที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


เพลง บวก - ลบ
                                       บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ              ครูให้อีกใบนะเธอ
                                  มารวมกันนับดีดีซิเออ                 ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
                                  บ้านฉันมีแก้วน้ำใจใบ                 หายไปสามใบนะเธอ
                                  ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ                 ดูซิเออเหลือเพียงสี่ใบ


เพลง เท่ากัน - ไม่เท่ากัน
                                                   ช้างมีสี่ขา               ม้ามีสี่ขา
คนเรานั้นหนา               สองขา ต่างกัน
                                                   ช้างม้า มี                สี่ขา เท่ากับ (ซ้ำ)
                                              แต่กับคนนั้น                ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)

เพลง ขวดห้าใบ
                                                   ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
                                                  เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
                                      คงเหนื่อยขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง ลดลงเหลือสี่
                              (ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวดหนึ่งใบ)
                                 ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง จะทำอย่างไรกันดี


เพลง จับปู
                                       หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า         จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว
                                       หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า         ปูมันหนีบฉันต้องส่ายหัว
                                       ฉันกลัวฉันกลัวฉันกลัว       ปูมันหนีบฉันที่หัวแม่มือ  


           *** เนื้อหาในเพลงสามารถนำไปดัดแปลงให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่จัดได้ ***
                               
                                                   



วิธีการสอน

       อาจารย์มีการใช้คำถาม ให้ข้อเสนอแนะ อธิบายเพิ่มเติมจากการนำเสนอของนักศึกษา และใช้สื่อ power point ในการบรรยาย ทบทวนความรู้เดิม


ประเมิน

สภาพห้องเรียน
เทคโนโลยีภายในห้องเรียนพร้อมต่อการใช้งาน เก้าอี้เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา อากาศภาพในห้องถ่ายเท

ตนเอง
เข้าชั้นเรียนไม่ตรงเวลา (เข้าสาย) บางครั้งคุยเสียงดังรบกวนเพื่อนคนอื่น และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

เพื่อน
เข้าชั้นเรียนตรงเวลา มีความสนใจและตั้งใจฟังเพื่อนกลุ่มอื่นนำเสนอ มีการแสดงความคิดเห็น และให้ความร่วมมือ

อาจารย์
อาจารย์ให้ความเป็นกันเอง บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม การแต่งกายสะอาดสะอ้าน และเป็นระเบียบเรียบร้อย พูดเสียงดังชัดถ้อยชัดคำ เข้าสอนตรงเวลา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม แสดงความคิดเห็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น