วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่ 4 วันพุธที่ 28 เดือน มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน

องค์ความรู้

เลขฐานสิบ เช่น 20 คือ 10 กับ 10
                       25 คือ 10 กับ 10 กับ 5
                       30 คือ 10 กับ 10 กับ 10 เป็นต้น

อาจารย์ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนเรียน
       1. ทฤษฏีเพียเจต์กับความรู้ทางคณิตศาสตร์
        2. จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
        3. ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
        4. หลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เกมทายตัวเลข คือ 20 15 23 25 จำนวนใดไม่เข้าพวก ใช้เกณฑ์ในการแบ่ง
            20 15 23 25 ใช้เกณฑ์ เป็นจำนวนคี่
             จำนวนที่ต่างจากพวกคือ 20
             20 15 23 25 ใช้เกณฑ์ มากกว่าหรือเท่ากับ 20
             จำนวนที่ต่างจากพวกคือ 15
             20 15 23 25 ใช้เกณฑ์ 5 หารลงตัว
             จำนวนที่ต่างจากพวกคือ 23
             20 15 23 25 ใช้เกณฑ์ น้อยกว่า 25
             จำนวนที่ต่างจากพวกคือ 25
    จะเห็นได้ว่า ไม่เข้าพวกได้ทุกจำนวนเพราะเกณฑ์สามารถกำหนดได้หลากหลาย

กิจกรรม 6 กิจกรรมหลักสำหรับเด็กปฐมวัย
        1. กิจกรรมเสรี/การเล่นตามมุม
         2. กิจกรรมสร้างสรรค์
         3. กิจกรรมเคลื่อนไหว และจังหวะ
        4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์/กิจกรรมในวงกลม
        5. กิจกรรมกลางแจ้ง
        6. กิจกรรมการศึกษา


ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ตามหลักเพียเจต์

  • เป็นความรู้ทางกายภาพ(สามารถจับต้องได้) เป็นรูปธรรม
  • เป็นความรู้ที่มีเหตุผล การเชื่องโยงความรู้เก่ากับความรู้ใหม่

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
      1. เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เช่น คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์
      2. เพื่อพัฒนามโนภาพทางคณิตศษสตร์ เช่น การบวกลบ 
      3. เพื่อให้เด็กรู้จัก และสาารถใช้กระบวนการหาคำตอบ
      4. เพื่อฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
      5. เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
      1. การสังเกต (Observation)
          ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า
      
      2. การจำแนกประเภท (Classifying) 
          อาศัยเกณฑ์ในการจำแนก
      
       3. การเปรียบเทียบ (Comparing)
           - สิ่งที่จะเปรียบเทียบมีสองสิ่งขึ้นไป
           - ควรมีความรู้ความเข้าใจลักษณะเฉพาะ และศัพท์ทางคณิตศาสตร์ 
      
      4. การจัดลำดับ (Ordering)
          - เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
          - จัดลำดับสิ่งของหรือเหตุการณ์

      5. การวัด (Measurement)
          - การหาค่าหรือปริมาณที่มีหน่วยมาตรฐานในการวัด
          - สิ่งที่จะวัด ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก และปริมาณ
          การวัดของเด็กปฐมวัย ไม่อาศัยหน่วยมาตรฐานในการวัดอาจทำเป็นเครื่องมือ เช่น นาฬิกาทราย กระดาษที่ตัดตามรอยมือขนาดเท่ากัน และใช้เครื่องมือกึ่งทางการ เช่น ไม้บรรทัด ตุ๊กตาหมี เป็นต้น
      
       6. การนับ (Counting)
           - นับแบบท่องจำ หรือเรียกว่า "นับปากเปล่า" เป็นการท่องจำแบบไม่เข้าใจความหมาย
           - นับแบบมีความหมาย
      
       7. รูปทรงและขนาด (Sharp and Size)
           เด็กปฐมวัยจะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดก่อนเข้าเรียน เพราะเป็นประสบการณ์จากสิ่งรอบตัวเด็ก

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
       1. การนับ
       2. ตัวเลข
       3. การจับคู่
       4. การจัดประเภท
       5. การเปรีบยบเทียบ
       6. รูปร่างและพื้นที่
       7. การวัด
       8. การจัดลำดับ

หลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
       1. สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
       2. เปิดโอกาสให้เด็กได้หาคำตอบด้วยตนเอง
       3. มีการวางแผน
       4. ตระหนักและเอาใจใส่ลำดับของพัฒนาการ

           


ทักษะ

            
    การนำเสนอโทรทัศน์ครูหน้าชั้นเรียนของเพื่อน เลขที่ 7 - 9

         เลขที่ 7 นำเสนอโทรทัศน์ครูเรื่อง ครูมืออาชีพ ตอนเลขรอบตัวเรา
                     สรุป วิธีการสอนคณิตศาสตร์ เริ่มต้นด้วยการกระตุ้นความพร้อมของเด็กด้วยการอบอุ่นร่างกาย และสอดแทรกความรู้เรื่องสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ เท่ากับ โดยใช้สื่อเพลง และให้เด็กแสดงสัญลักษณ์ด้วยท่าทาง

        เลขที่ 8 นำเสนองานวิจัยเรื่อง 
             

        เลขที่ 9 นำเสนองานวิจัยเรื่อง การสอนคณิตศาสตร์กับเด็กๆ อนุบาล 2 - 3
                 สรุป การสอนคณิตศาสตร์โดยใช้สื่อที่หลากหลาย และกิจกรรมที่แปลกใหม่ บูรณาการศิลปะกับคณิตศาสตร์และวิชาอื่นๆให้เด็กเกิดความสนุกสนานเพื่อดึงดูดความสนใจของเด็ก ส่งผลให้เด็กมีความจำที่ดี 

     อาจารย์ให้นักศึกษาออกแบบ และจัดทำป้ายชื่อของตนจากนั้นนำไปติดบนกระดาน โดยอาจารย์ได้แบ่งพวกออกเป็นนักศึกษาที่มาเรียนก่อนเที่ยง และหลังเที่ยง
 *** กิจกรรมดังกล่าวมีเกณฑ์ในการแบ่งคือ เวลา 12:00 นาฬิกา *** 
เด็กจะได้เรียนรู้เรื่องการจำแนกประเภท หรือการแบ่งกลุ่ม จำนวน และการนับ

     อาจารย์ใช้ภาพปู และให้นักศึกษาร่วมกันบอกลักษณะ โดยอาศักทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ได้เรียนมา 
       >>> ตัวอย่างกิจกรรมในห้องเรียน




      คำตอบของลักษณะ

         1. ลูกตาด้านในเล็กกว่าตาด้านนอก
         2. จำนวนขาด้านซ้ายเท่ากับด้านขวา
         3. ก้ามปูเป็นรูปหัวใจ 
         4. ตัวของปูเป็นรูปวงรี 
         และอื่นๆ
การจัดกิจกรรมดังกล่าวแก่เด็ก ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ตอบ และคำตอบควรมีความหลากหลาย 




วิธีการสอน

      อาจารย์ใช้สื่อ power point ในการบรรยาย ใช้เกมแทนคำถามให้นักศึกษาได้ตอบ และแสดงความคิดเห็น และบอกให้ผู้เรียนทราบถึงเนื่อหาที่จะเรียนก่อนเสมอ




การประยุกช์ใช้

ผู้สอน
1. ส่งเสริมคณิตศาสตร์ด้วย 6 กิจกรรมหลัก และสอนแบบบูรณาการ
2. กระตุ้นเด็กด้วยโจทย์ หรือคำถามปลายเปิด
3. รับฟังและยอมรับคำตอบของเด็ก
4. คอยให้กำลังใจเมื่อเด็กยังตอบไม่ได้ และชมเชยเด็กที่ตอบได้
5. เป็นนักคิด นักอกแบบ เช่น ให้เด็กหัดเขียนตัวเลขบนอากาศ หรือบนหลังเพื่อน จัดทำสื่อรูปทรงตัวเลขโดยใช้สำลี กระดาษทรายให้เด็กได้สัมผัสลูบ คลำให้เด็กรู้จุดเริ่มต้น




ประเมิน

สภาพห้องเรียน
เทคโนโลยีภายในห้องเรียนพร้อมต่อการใช้งาน การจัดเก้าอี้ในลักษณะครึ่งวงกลมซ้อนกัน นักศึกษาที่นั่งวงนอกมีความยากลำบากต่อการเคลื่อนย้าย อากาศในห้องเย็นเป็นอุปสรรคต่อการเรียน

ตนเอง
ทำแบบทดสอบก่อนเรียนไม่ทันตามเวลาที่กำหนด มีการจดบันทึก สรุปความจากอาจารย์บรรยาย และยังไม่ได้ทานข้าว ทำให้หิวไม่มีสมาธิต่อการเรียน

เพื่อน
เข้าชั้นเรียนตรงเวลา มีความสนใจและตั้งใจเรียน ทานขนมในห้องเรียน แสดงความคิดเห็น และตอบคำถามอาจารย์

อาจารย์
อาจารย์ให้ความเป็นกันเอง บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม การแต่งกายสะอาดสะอ้าน และเป็นระเบียบเรียบร้อย พูดเสียงดังชัดถ้อยชัดคำ เข้าสอนตรงเวลา และมีทักษะในการกระตุ้นนักศึกษาให้คิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น