วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่ 6 วันศุกร์ที่ 13 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน

องค์ความรู้

เนื้อหา/สาระ
    เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
    กิจกรรมการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมสาระตามมาตรฐาน

เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
    นิทาน กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการอะไร และวางตัวละครของเรื่อง
    เพลง การใช้จังหวะเพื่อให้เด็กได้นับจังหวะของเพลง
    เกม เกมเกี่ยวกับจำนวน เช่น บิงโก โดมิโน
    คำคล้องจอง สามารถแต่งขึ้นเอง และดัดแปลงเนื้อหาให้สอดคล้องกับสาระที่เรียนรู้
    ปริศนาคำทาย ควรเพิ่มลักษะณะขึ้นเรื่อยๆให้เด็กได้เชื่อมโยงความรู้เก่ากับความรู้ใหม่
    บทบาทสมมติ การเล่นกิจกรรมเสรี เช่น การเล่นขายของ
    แผนภูมิภาพ เช่น  แผนภูมิรูปภาพ/ของจริง แผนภูมิแท่ง  แผนภูมิวงกลม 
    การประกอบอาหาร
    
กิจกรรมการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมสาระตามมาตรฐาน
          ยุภา   ธรรมโคตร นำเสนอเทคนิคการจัดประสบการณ์ผ่านเกม โดยใช้สื่อที่เป็นจิ๊กซอเพื่อส่งเสริมสาระที่ 3 เรขาคณิต และสาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
        กมลรัตน์   มาลัย นำเสนอเทคนิคการจัดประสบการณ์ผ่านมุมบทบาทสมสติ โดยการเล่นมุมร้านค้าเพื่อส่งเสริมสาระที่ 2 การวัด
         ปรางชมพู   บุญชม นำเสนอเทคนิคการจัดประสบการณ์ผ่านกิจกรรม โดยใช้สื่อที่เป็นรูปทรง จากการให้เด็กจำแนกประเภทของรูปทรงแต่ละชนิดเพื่อส่งเสริมสาระที่ 4 พีชคณิต
         ประภัสสร   คำบอนพิทักษ์ นำเสนอเทคนิคการสอน โดยให้เด็กนั่งตามชื่อที่ติดไว้ สอนในเรื่องของตำแหน่ง และระยะทางเพื่อส่งเสริมสาระที่ 3 เรขาคณิต



ทักษะ

         อาจารย์ให้นักศึกษานำป้ายชื่อไปติดในช่องตาราง โดยกำหนดหัวข้อ คือ สถานที่ที่จะไปในวันวาเลนไทน์





          การจัดกิจกรรมดังกล่าวเด็กได้เรียนรู้ทักษะการรวม การแยกกลุ่ม และการวิเคราะห์ข้อมูลจากการได้ลงมือปฏิบัติจริง

การรายงานวิจัยหน้าชั้นเรียนของเพื่อนเลขที่ 13 - 15
   
    เลขที่ 14 รายงานวิจัยเรื่อง ผลการใช้สื่อในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์
                   สรุปวิจัย การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านสื่อในท้องถิ่น 4 ประเภท คือ รูปทรงเรขาคณิต ประเภทตามขนาด ประเภทตามชนิด และประเภทตามสี  เช่น การเล่นบล็อกที่ทำจากไม้ประดู่ และกะลามะพร้าว เป็นต้น

    เลขที่ 15 รายงานวิจัยเรื่อง การใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์
                  สรุปวิจัย การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบการเรียนปนเล่น โดยใช้การละเล่นแบบไทย เช่น การละเล่นรีรีข้าวสาร ม้าก้านกล้วย และเกมบรรไดงู เพื่อพัฒนามมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย การนับเลข จำนวน 1 - 30 ตัวเลขจำนวนคู่ - คี่ และการเปรียบเทียบจำนวนมากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ โดยมีขั้นตอนการจัดเริ่มจากง่ายไปหายาก และเป็นรูปธรรมไปสู่นามธรรม เพื่อฝึกความมีเหตุผล ให้สัมพันธ์กับช่วงอายุ

การใช้เพลงที่แต่งขึ้นเอง จัดประสบการณ์เพื่อสงเสริมสาระรู้ค่าของจำนวนสำหรับเด็กปฐมวัย

*** เพลง เลขสอง ***
                                                   ไข่ 2 ฟอง            กลอง 2 ใบ 
                                                   ไก่ 2 ตัว               วัว 2 เขา 
                                                   เกาเหลา 2 ชาม    นับไปนับมา 
                                                   สองอย่างหมดเลย

กิจกรรมการเรียนรู้
เกม       การหารูปทรงจากสี่เหลี่ยม
สื่อ         กระดาษสีทรงสี่เหลี่ยมขนาด 1.5 X 1.5 นิ้ว จำนวน 10 ชิ้น
วิธีเล่น   ให้สร้างรูปทรงจากจำนวนสี่เหลี่ยมที่กำหนด โดยด้านใดด้านหนึ่งของสี่เหลี่ยมติดกัน
โจทย์    จำนวน 1 ชิ้น    >>>   จำนวนรูปทรงที่ได้ ?
             จำนวน 2 ชิ้น   >>>    จำนวนรูปทรงที่ได้ ? 
             จำนวน 3 ชิ้น   >>>    จำนวนรูปทรงที่ได้ ?
             จำนวน 4 ชิ้น   >>>    จำนวนรูปทรงที่ได้ ?
             จำนวน 5 ชิ้น   >>>    จำนวนรูปทรงที่ได้ ?
คำตอบ จำนวน 1 ชิ้น    >>>   จำนวนรูปทรงที่ได้ คือ 1 รูป
               ได้แก่
                     
              จำนวน 2 ชิ้น   >>>   จำนวนรูปทรงที่ได้ คือ 1 รูป
                ได้แก่
                   
             จำนวน 3 ชิ้น   >>>   จำนวนรูปทรงที่ได้ คือ 2 รูป
               ได้แก่
                   
              จำนวน 4 ชิ้น   >>>   จำนวนรูปทรงที่ได้ คือ 5 รูป
                ได้แก่
                   
               จำนวน 5 ชิ้น   >>>   จำนวนรูปทรงที่ได้ คือ 12 รูป
                 ได้แก่
                  



วิธีการสอน

       อาจารย์มีการใช้แบบทดสอบก่อนเรียน เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความรู้เดิม  ใช้สื่อ power point ในการบรรยาย และใช้เกมในการสอน เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้โดยการได้ลงมือปฏิบัติจริง


ประเมิน

สภาพห้องเรียน
เทคโนโลยีภายในห้องเรียนพร้อมต่อการใช้งาน เก้าอี้เพียพอต่อจำนวนนักศึกษา อากาศถ่ายเท

ตนเอง
เข้าชั้นเรียนตรงเวลา จดบันทึก สรุปความจากอาจารย์บรรยาย แนะนำ และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
เนื่องด้วยเป็นวันสุดท้ายของการเรียน ทำให้เหนื่อยล้า และไม่มีสมาธิระหว่างเรียนเท่าที่ควร

เพื่อน
เข้าชั้นเรียนตรงเวลา มีความสนใจและตั้งใจเรียน แสดงความคิดเห็น และตอบคำถามอาจารย์

อาจารย์
อาจารย์ให้ความเป็นกันเอง บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม การแต่งกายสะอาดสะอ้าน และเป็นระเบียบเรียบร้อย พูดเสียงดังชัดถ้อยชัดคำ เข้าสอนตรงเวลา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม แสดงความคิดเห็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น