วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่ 7 วันศุกร์ที่ 20 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน

องค์ความรู้

           การจัดมุมประสบการณ์ หรือมุมบทบาทสมมติ ตามแนวคิดของมอนเตสซอรี่ คือ ของเล่นสามารถตรวจสอบได้ทันที และเล่นอย่างเป็นขั้นตอน  **เน้น การใช้ประสาทสัมผัส อุณหภูมิ พื้นผิว**
        
            การสอนโดยใช้ตารางเมกทริกซ์  เด็กเรียนรู้
                   - การสังเคราะห์ อ่านไม่ออกแต่สามารถบอกได้ เช่น การใช้ภาพ และสัญลักษณ์
                   - ลำดับ สอนแบบสาธิต เช่น แผนที่

              การจัดประสบการณ์
                     - การสอนภาษาแบบธรรมชาติ  (Whole Language Approach)
                   - การสอนแบบโครงการ  (Project  Approach)
                     - การเรียนรู้โดยการสังเกต หรือการเลียนแบบ (Observational Learning) ตามแนวคิดของ แบนดูรา

รูปแบบการจัดประสบการณ์
     การจัดประสบการณ์ แบบบูรณาการ
     การจัดประสบการณ์ แบบโคงการ
     การจัดประสบการณ์ แบบสมองเป็นฐาน
     การจัดประสบการณ์ แบบ STEM ประกอบด้วย S (Science) = วิทยาศาสตร์  T (Technology) = เทคโนโลยี E (Engineering) = วิศวะกรรมศาสตร์  M (Mathematics) = คณิตศาสตร์
     การจัดประสบการณ์ แบบมอนเตสซอรี่
     การจัดประสบการณ์ แบบเดินเรื่อง

    การจัดประสบการณ์ แบบบูรณาการ
           ความหมาย เป็นการเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (การเรียนรู้)
         
           ประโยชน์
                  - สามารถนำศาสตร์มาแก้ปัญหาได้กับชีวิตจริง
                  - เชื่อมโยงความคิดรวบยอดของศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกันทำให้เกิดการถ่ายโอนความคิดใหม่
                  - ช่วยลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหา
                  - ตอบสนองคามสามารถหลายๆ ด้าน
                  - สอดคล้องกับทฤษฏี การสร้างความรู้โดยผู้เรียน (Constructivism) ของ เพียตเจต์ บรูเนอร์ ไวก๊อตสกี้

            การนำไปใช้
                    เด็ก     ต้อง     ควร     อยาก     รู้อะไร  **สาระสำคัญ**
                    เด็ก     ต้อง     ควร     อยาก     ทำอะไร = การปฏิบัติ   ทักษะ **ประสบการณ์สำคัญ**

กิจกรรมการจัดระสบการณ์เพือส่งเสริมสาระตามมาตรฐาน
      รัชดา   เทพเรียน นำเสนอเทคนิคการจัดประสบการณ์ผ่านกิจกรรม 
                               สื่อ คือ เครื่องชั่ง2แขน  และไม้บล็อก 
                               วิธี ไม้บล็อกขนาดใหญ่ 1 อัน     =    ไม้บล็อกขนาดเล็ก 2 อัน 
                               ใส่ไม้บล็อกขนาดใหญ่เพิ่มอีก 1 อัน  =  ใส่ไม้บล็อกขนาดเล็กเพิ่มอีกเท่าไร? 
เด็กได้เรียนรู้คณิตศาสตร์พื้นฐานเรื่องการบวก การแยก เพื่อส่งเสริมสาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ และสาระที่ 2 การวัด



ทักษะ

การรายงานโทรทัศน์ครูหน้าชั้นเรียนของเพื่อนเลขที่ 16 - 18
   
    เลขที่ 16  เรื่อง ผลไม้แสนสุข
                   สรุป การจัดกิจกรรมส่งเสริมประสบการณ์แบบบูรณาการ จากกิจกรรมการใช้ประสาทสัมผัส คือ ลิ้น ลิ้มรสชาติของผลไม้ (บูรณาการวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์) กิจกรรมการเคลื่อนไหว โดยใช้เทคนิคคำคล้องจอง และกิจกรรมการศึกษานอกสถานที่ โดยเริ่มจากคุณครูทำข้อตกลงร่วมกับเด็กๆ และให้เด็กๆเตรียมคำถามที่จะใช้ถามแม่ค้า ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเด็กจะได้รับประสบการณ์ตรง บูรณาการด้านสังคม และภาษา 

    เลขที่ 17 เรื่อง กิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส
                  สรุป การสร้างพื้นฐานการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตา หู จมูก ลิ้น กาย เพื่อเตรียมความพร้อมการเรียนรู้ในระดับชั้นต่อไป
                          ประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ที่ได้รับ
                                ตา (การมอง)        = รูปทรง ขนาด
                                หู  (การได้ยิน)      = ลำดับโทนเสียง
                                จมูก (การดมกลิ่น) = ปริมาณความเข้มของกลิ่น เช่น มาก น้อย
                                ลิ้น (การชิม)          = ปริมาณของรส เช่น หวานมาก หวานน้อย
                                กาย (การสัมผัส)    = พื้นผิว ความหนาแน่น เช่น หนา บาง 



วิธีการสอน

       อาจารย์มีการใช้คำถาม เช่น การจัดมุมประสบการณ์ดังกล่าวตรงกับแนวความคิดของใคร การสอนภาษาแบบธรรมชาติคืออะไร และการเรียนรู้โดยการเลียนแบบตรงกับแนวคิดของใคร  และใช้สื่อ power point ในการบรรยาย 


ประเมิน

สภาพห้องเรียน
เทคโนโลยีภายในห้องเรียนพร้อมต่อการใช้งาน เก้าอี้เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา อากาศถ่ายเท

ตนเอง
เข้าชั้นเรียนตรงเวลา จดบันทึก สรุปความจากอาจารย์บรรยาย แนะนำ และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
เนื่องด้วยเป็นวันสุดท้ายของการเรียน ทำให้เหนื่อยล้า และไม่มีสมาธิระหว่างเรียนเท่าที่ควร

เพื่อน
เข้าชั้นเรียนตรงเวลา มีความสนใจและตั้งใจเรียน แสดงความคิดเห็น และตอบคำถามอาจารย์

อาจารย์
อาจารย์ให้ความเป็นกันเอง บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม การแต่งกายสะอาดสะอ้าน และเป็นระเบียบเรียบร้อย พูดเสียงดังชัดถ้อยชัดคำ เข้าสอนตรงเวลา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม แสดงความคิดเห็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น