วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2558


สะท้อนผลการเรียนรู้
รายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ประจำปีการศึกษา 2557






ทักษะ
      1. ทักษะด้านเทคโนโลยี 
          1.1 การเขียนอนุทินบันทึกหลังการเรียนในบล็อก 
          1.2 การสืบค้นข้อมูลในอินเตอร์เน็ท เช่น บทความ งานวิจัย โทรทัศน์ครู และแหล่งความรู้อื่นๆ
          1.3 การจัดทำแผนที่ความคิด Main map สรุปองค์ความรู้
          1.4 การจัดทำสื่อ Power Piont ประกอบการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
      2. ทักษะด้านความคิด
           2.1 การคิดสร้างสรรค์  มีอิสระในการคิด กล้าคิด และคิดเป็น
           2.2 สรุปองค์ความรู้ เป็นการสะท้อนความรู้ต่างๆที่ได้เรียนมา
      3. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
          3.1 การทำงานร่วมกับผู้อื่น ต้องอาศัยการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เข้าใจ และยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
          3.2 การเคารพเสียงส่วนรวมมากกว่าส่วนตน
          3.3 รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย ส่งงานครบ และตรงเวลา
      4. ทักษะการจัดการเรียนรู้
          4.1 เทคนิค และวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย และเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำ
          4.2 สร้างแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

เทคนิค
     1. เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตัวเอง เช่น ใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กตอบ แทนการสอนตามตำรา
     2. เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกับคนอื่น  เช่น กิจกรรมกลุ่ม 
     3. เทคนิคการใช้ตารางเมตริกซ์จัดกิจกรรมกระตุ้นความสนใจและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง
  
คุณธรรมจริยธรรม
     1. การแต่งกายถูกระเบียบตามกฏระเบียบของมหาวิทยาลัย
     2. ให้ความเคารพครูอาจารย์และผู้อาวุโส
     3. ปฏิบัติตน การวางตัว มีบุคคลิกเหมาะสมต่อการเป็นครู
     4. รับฟังความคิดเห็น และเคารพในสิทธิของผู้อื่น 
     5. ซื่อสัตย์ สุจริตในการทำงาน
     6. กล้าแสดงออก เป็นผู้นำผู้ตามที่ดี





วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่ 15 วันจันทร์ที่ 27 เดือน เมษายน พ.ศ. 2558
(ชดเชยตารางเรียนวันพุธที่ 4 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558)

บันทึกอนุทิน

องค์ความรู้

อาจารย์มอบหมายให้ทำแบบประเมิน โดยให้เวลา 3 ชั่วโมง
1. พัฒนาการหมายถึงอะไร ?
2. การเรียนรู้มีลักษณะอย่างไร ?
3. หากครูไม่ศึกษาพัฒนาการและวิธีการเรียนรู้ของเด็กการจัดประสบการณ์จะเป็นอย่างไร ?
4. คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีลักษณะอย่างไร ?
5. คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแตกต่างจากวิชาคณิตศาสตร์ในระบบการเรียนการสอนของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างไร ?
6. การนำความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์หรือการคิดคำนวณมาจัดประสบการณ์ให้เด็กมีแนวคิดอย่างไร ?
7. สาระคณิตศาสตร์ตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยมีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างการจัดประสบการณ์แต่ละสาระ
8. ผู้สอนบูรณาการคณิตศาสตร์ผ่านรูปแบบการสอนใดได้บ้าง ?
9. ให้ท่านยกตัวอย่างขั้นตอนรูปแบบการสอนบูรณาการคณิตศาสตร์ ?
10. ในการทดลองการจัดประสบการณ์ทำไมการวางโต๊ะและกระดานเขียนต้องมีความสัมพันธ์กับการนั่งของครู
11. ขั้นตอนการจัดประสบการณ์มีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่าง
12. ในการทดลองการจัดประสบการณ์มีเทคนิควิธีที่ท่านพึงระวังและควรนำมาใช้มีอะไรบ้าง 
13. จากการศึกษาในรายวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยท่านได้ความรู้และทักษะใดบ้าง คุณธรรมจริยธรรมที่ได้รับจากรายวิชานี้คืออะไร ท่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนอะไร พร้อมยกตัวอย่าง ท่านมีโอกาสใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาบ้างหรือไหม พร้อมยกตัวอย่าง ท่านมีประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้หรือไม่ ถ้ามีให้ท่านยกตัวอย่าง
                                         
                 
ทักษะ
       
      - ทักษะด้านความคิด การคิดอย่างมีเหตุผล มีวิจารณญาณ และคิดสร้างสรรค์
      - ทักษะการสืบค้นข้อมูล การหาคำตอบจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ
      - ทักษะการดำเนินชีวิต คุณธรรมจริยธรรม การอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมที่อาจารย์ได้ปลูกฝั่ง และเป็นแบบอย่างให้แก่ศิลย์


วิธีการสอน

       อาจารย์อธิบายเพิ่มเติม เปิดโอกาสให้นักศึกษาถามในหัวข้อที่ไม่เข้าใจ ใช้คำถามกระตุ้นให้นักศึกษาค้นหาคำตอบด้วยตนเอง และเปิดโอกาสให้สามารถค้นหาคำตอบจากแหล่งข้อมูลอื่นๆได้ เช่น อินเตอร์เน็ท หนังสือ เป็นต้น


  ประเมิน
สภาพห้องเรียน

ตนเอง
แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย ส่งงานไม่ตรงเวลา

เพื่อน
เข้าชั้นเรียนตรงเวลา แต่งการเรียบร้อยถูกระเบียบ และส่งงานตรงเวลาตามที่ได้รับหมอบหมาย

อาจารย์
อาจารย์ให้ความเป็นกันเอง การแต่งกายสะอาดสะอ้าน และเป็นระเบียบเรียบร้อย พูดเสียงดังชัดถ้อยชัดคำ เข้าสอนตรงเวลา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม
บันทึกครั้งที่ 14 วันพุทธที่ 22 เดือน เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน

องค์ความรู้


      สรุปเทคนิคการสอน 
         1. การใช้คำถาม เช่น เด็กๆคิดว่าใต้กระดาษมีอะไร 
          2. ทบทวนประสบการณ์เดิม นอกจากดอกไม้แต่ละชนิดในเพลงแล้วเด็กๆยังรู้จักดอกอะไรอีกบ้าง
          3. ใช้ภาพดอกไม้ต่างๆ แทนคำ
          4. การวางเรียงสิ่งของควรวางเรียงจากซ้ายไปขวาของผู้เรียน
          5. การวางเรียงควรคละไม่ควรจัดกลุ่มเรียง เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กสังเกต และจัดหมวดหมู่เอง
          6. การนับทีละหนึงจนตัวสุดท้าย ตัวสุดท้ายจะแสดงถึงค่าหรือจำนวน จึงนำเลขฮินดูอารบิควางกำับหรือเขียนกับกำที่ตัวสุดท้ายในตำแหน่งเดียวกันโดยวางข้างบนหรือข้างล่าง
          7. เกณฑ์ที่ใช้สำหรับแยกกลุ่มควรใช้เกณฑ์เพียงเกณฑ์เดียว เพื่อง่ายต่อการพิจารณา เช่น แยก
          8. ต้องให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
          9. ควรมีการบันทึก mind map เพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์ทางภาษา และเห็นแบบอย่างจากการเขียนของครู      
      การจัดอุปกรณ์ขณะสอน
          ควรวางโต๊ะไว้ด้านหน้าครูเพื่อวางสื่อการสอน และวางกระดาษเขียนทางซ้ายมือเพื่อให้ครูขยับตัวเขียนกระดาษได้โดยไม่ต้องลุกขึ้นและบังผู้เรียนน้อยที่สุด
      การประเมิน
          - การสังเกต      เครื่องมือ  แบบบันทึก แบบสังเกต
          - การสัมภาษณ์       "        แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม
          - การทดสอบ          "        ข้อสอบ แบบทดสอบ
          - การสนทนา 
          - ผลงาน
       ผู้ปกครองมีส่วนช่วยส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์อย่างไร ? (ความคิดเห็นของเพื่อนในชั้นเรียน)
          1. สมาชิกในครอบครัวมีกี่คน
          2. บ้านอยู่ใกล้หรือไกลจากโรงเรียน
          3. โทรทัศน์เป็นรูปทรงใด
          4. สมาชิกคนใดในครอบครัวสูงที่สุด
          5. ตารางกิจวัตรประจำวัน เช่น 
              เช้า       ตื่นนอน อาบน้ำ รับประทานอาหาร ไปโรงเรียน
              กลางวัน รับประทานอาหารกลางวัน นอน
              เย็น       กลับบ้าน รับประทานอาหารเย็น เป็นต้น
     เทคนิคการสอนด้วยขนม
         1. ครูหยิบขนมขึ้นมาทีละชิ้น และให้เด็กนับ
          2. ครูนำขนมมาวางบนภาชนะ แถวละ 10 ชิ้นจนหมด
          3. สำรวจความเห็นของเด็กว่าแถวใดมีจำนวนขนมมากที่สุด
          4. พิสูจน์คำตอบด้วยการให้เด็กออกมาหยิบออกแบบ 1 : 1 
          5. ครูนำขนมแจกเด็กๆ โดยให้เด็กหยิบและนับจำนวนขนมถอยหลัง


วิธีการสอน

       อาจารย์มีการใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กตอบ ให้ข้อเสนอแนะ และเทคนิคต่างๆเพิ่มเติมจากการนำเสนอของนักศึกษา และจัดกิจกรรมการสอนที่น่าสนใจ แปลกใหม่ ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข


ประเมิน

สภาพห้องเรียน
เทคโนโลยีภายในห้องเรียนพร้อมต่อการใช้งาน เก้าอี้เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา อากาศภายในห้องถ่ายเท

ตนเอง
เข้าชั้นเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน แสดงความคิดเห็น ใช้ ร ล และคำควบกล้ำได้ถูกต้อง และมีการจดบันทึก สรุปเนื้อหาที่อาจารย์สอน

เพื่อน
เข้าชั้นเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ แสดงความคิดเห็น รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

อาจารย์
อาจารย์ให้ความเป็นกันเอง บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม การแต่งกายสะอาดสะอ้าน และเป็นระเบียบเรียบร้อย พูดเสียงดังชัดถ้อยชัดคำ เข้าสอนตรงเวลา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม แสดงความคิดเห็น

วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่ 13 วันพุทธที่ 8 เดือน เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน

องค์ความรู้

ขั้นอนุรักษ์ = เด็กตอบตามที่ตนเห็น
เพื่อนแต่ละกลุ่มนำเสนอแผนการสอน และจัดกิจกรรมการสอนตามแผน
        หน่วย กล้วย
        แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้


        เทคนิคการสอน 
                - การแยกกลุ่ม คือแยกกลุ่มกล้วยหอม และกลุ่มที่ไม่ใช่กล้วยหอมออกเป็น 2 กลุ่ม
                - การเปรียบเทียบจำนวน โดยการจับคู่ 1 : 1 หากกล้วยชนิดใดยังเหลือแสดงว่ากล้วยชนิดนั้นมีจำนวนมากกว่า
                - เพลง กล้วย
                                                     กล้วยคือผลไม้ ใครๆก็ชอบกินกล้วย
                                               ค้างคาว ช้าง ลิง ฉันด้วยกินกล้วยมีวิตามิน
                                                         กล้วยส้ม กล้วยหอม กล้วยไข่
                                                            ขาดไม่ได้คือกล้วยน้ำว้า
                                                               ตัดใบห่อขนมเธอจ๋า
                                                        ส่วนก้านเอามาทำม้าก้านกล้วย

        หน่วย แตงโม
        เทคนิคการสอน
                - การสอนแบบคอลัมน์ เรียงจากบนลงล่าง
                - การใช้คำพูดกระตุ้น เช่น คุณครูถามจำนวนของรูปแตงโมและให้เด็กตอบด้วยขั้นอนุรักษ์ เมื่อเด็กตอบ คุณครูใช้คำพูดว่า "เรามาดูซิว่าที่เพื่อนตอบ จริงหรือเปล่า ถ้าจริงให้เพื่อนๆตบมือให้เพื่อนที่ตอบถูก"
                - เพลง แตงโม
                                                              แตงโม แตงโม แตงโม
                                                               โอ้โห แตงโมลูกใหญ่
                                                            เนื้อแดงเรียกจินตรา (ซ้ำ)
                                                          เนื้อเหลืองนี้หนา เรียกน้ำผึ้ง

        หน่วย สุนัข
        แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้


        เทคนิคการสอน 
                - การเขียนแผนที่ความคิด ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กตอบพันธุ์ของสุนัขเพิ่มเติมจากที่เรียนมา เป็นการถามประสบการณ์เดิม และนำคำตอบที่ได้มาเขียนลงในแผนที่ความคิดในแต่ละวัน เมื่อถึงวันสุดท้ายของสัปดาห์ (วันศุกร์) เป็นการสรุปสิ่งที่เรียนมาในสัปดาห์นี้
                - เลขฐาน 10 แยกเป็นแถวละ 10
                - เพลง สุนัข
                                                     บ๊อกๆๆๆๆ บ๊อกเป็นเสียงของน้องหมา
                                          เด็กๆรู้ไหมหน้าตา (ซ้ำ) ของน้องหมานั้นหน้ารักดี
                                                  หมามีหลายชนิด ไหนลองคิดๆช่วกันสิ
                                          เด็กๆช่วยตอบครูที (ซ้ำ) ชนิดน้องหมานี้นั้นมีอะไร
                                                  เช่นโกเด้น บางแก้ว ชิวาๆ พุดเดิ้น บลู๊ๆ
  
        หน่วย ไก่
        แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

 
        เทคนิคการสอน  
               - เพลง ไก่กระต๊าก กระต๊าก

ไก่ ไก่ ไก่ ไก่นั้นมีสองขา
ไก่ชนเดินมา แล้วร้องว่ากระต๊ากๆ
ไก่ ไก่ ไก่ ไก่นั้นมีสองขา
ไก่แจ้เดินมา แล้วร้องว่า กระต๊ากๆ

        เพิ่มเติมแผน สิ่งที่ต้องแก้ไข
               - ไม่ต้องมีคำว่า สามารถ ในวัตถุประสงค์
               - ไม่ควรจัดให้เด็กนั่งเป็นรูปวงกลม เพราะจะทำให้เด็กมองเห็นไม่ทั่วถึง ควรจัดให้เด็กนั่งเป็นรูปครึ่งวงกลม
               - ขั้นสอน ในกิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมต่างๆหายไป ไม่สมบูรณ์
                                           
                   
ทักษะ

(เก็บตก) การรายงานโทรทัศน์ครูหน้าชั้นเรียนของเพื่อนเลขทีj 18
   
   เลขที่ 18  เรื่อง ฝึกคิดสร้างสรรค์ด้วยกิจกรรมศิลปะผสม
                  สรุป  การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยกิจกรรมก้อนหินแปลงกาย ต้องการให้เด็กคิด คิดเป็น และกล้าที่จะคิดด้วยความสุข โดยจัดกิจกรรมด้วยสื่อผสม คือ สีเทียน ปากกาเมจิก หนังยาง ไหมพรม ดินน้ำมัน และกระดาษ มาประดิษฐ์ลงในก้อนหินตามจิตนาการอย่างอิสระ เด็กจะเรียนรู้ลักษณะของก้อนหิน รูปร่าง รูปทรง และปริมาณของสื่อที่จะนำมาประดิษฐ์สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่สอดแทรกอยู่ในกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์



วิธีการสอน

       อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะ อธิบายเพิ่มเติมจากการนำเสนอของนักศึกษา มีการใช้คำถามกระตุ้นให้คิด


  ประเมิน
   สภาพห้องเรียน
เทคโนโลยีภายในห้องเรียนพร้อมต่อการใช้งาน เก้าอี้เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา อากาศภายในห้องถ่ายเท

ตนเอง
เข้าชั้นเรียนไม่ตรงเวลา  ตั้งใจเรียน แสดงความคิดเห็น และจดบันทึก สรุปเนื้อหาที่อาจารย์สอน

เพื่อน
เข้าชั้นเรียนตรงเวลา แสดงความคิดเห็น และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

อาจารย์
อาจารย์ให้ความเป็นกันเอง บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม การแต่งกายสะอาดสะอ้าน และเป็นระเบียบเรียบร้อย พูดเสียงดังชัดถ้อยชัดคำ เข้าสอนตรงเวลา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม แสดงความคิดเห็น

วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่ 12 วันศุกร์ที่ 3 เดือน เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน

องค์ความรู้

                                              นำคุณสมบัติของสัตว์มาเสริมประสบการณ์
                                           เช่น เสือ 2 ตัว ไก่ 2 ตัว นับขารวมกันได้เท่าไร ?
                                ม้าลาย 2 ตัว นก 3 ตัว กบ 1 ตัว เป็ด 2 ตัว นับขารวมกันได้เท่าไร ?
- ขั้นตอนการออกแบบกิจกรรม
      1. ศึกษาสาระที่ควรรู้ ตามหลักสูตร
          หลักการการเลือกชื่อเรื่อง  เลือกเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก และเรื่องที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก
      2. วิเคราะห์เนื้อหา
      3. ศึกษาประการณ์สำคัญ (สิ่งที่เด็กได้กระทำ)
      4. บูรณาการสาระคณิตศาสตร์
      5. ออกแบบกิจกรรม
- ประสบการณ์สำคัญ = การลงมือปฏิบัติ หรือกระทำ


ทักษะ

แบ่งกลุ่ม เลือกเรื่องและทำแผนที่ความคิดนำไปสู่การเขียนแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์
      เรื่อง ไก่

แผนที่ความคิด เรื่องไก่

แผนการสอน เรื่องไก่

(เก็บตก) การรายงานวิจัยและโทรทัศน์ครูหน้าชั้นเรียนของเพื่อนเลขที่ 4 - 6 และ25
   
    เลขที่ 4  วิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์ตามแนวของมอนเตสเซอรี่
                        สรุป การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่เป็นการจัดประสบการณ์ที่ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง และยังคำนึงถึงศักยภาพของเด็กเป็นรายบุคคล ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดของมอนเตสซอรี่ที่ว่า “ไม่เน้นการให้ ความรู้ด้านสมองมากกว่าการใช้มือในการลงมือปฏิบัติจริง” การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่จึงเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้คณิตศาสตร์ผ่านประสาทสัมผัสเพื่อนำไปสู่ความรู้ที่เป็นนามธรรม
                      
     เลขที่ 5  วิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู
                         สรุป การจัดประสบการณ์มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยต่อการจัดประสบการณ์ ที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง  กับ การจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู 
การจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง มีหลักการจัด ดังนี้ 
           ขั้นนำ   ใช้เพลงที่สอดคล้องกับคณิตศาสตร์ 
           ข้นสอน ใช้เกมที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ 
           ขั้นสรุป ใช้เพลงสรุปเนื้อหา
           ขั้นวัดประเมินผล
การจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู มีหลักการจัด ดังนี้ 
           ขั้นนำ   แนะนำการเล่นเกมการศึกษา
           ข้นสอน ใช้เกมตามคู่มือครู
           ขั้นสรุป  สรุปความรู้จากเกมตามคู่มือครู
           ขั้นวัดประเมินผล
           ผลการวิจัย ความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยกลุ่มทดลองที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลงสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่จัดประสบการณ์ตามคู่มือครู และความคิดเห็นที่มีต่อการจัดประสบการณ์ กลุ่มทดลองที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลงโดยภาพรวมมีระดับความพึงพอใจมากในทุกด้าน โดยด้านบรรยากาศเด็กปฐมวัยมีความพอใจมากสูงเท่ากันทั้งสองกลุ่ม
                  
     เลขที่ 6  วิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมศิลปสรางสรรคดวยขนมอบ
                         สรุป ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
                                     1. การสังเกตและการจำแนก
                                     2. การเปรียบเทียบ
                                     3. การจัดหมวดหมู่
การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ มีขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม 3 ขั้นตอน ดังนี้
       1. ขั้นนำ เป็นการนำเขาสูกิจกรรมด้วยการสนทนา การตั้งคำถามปริศนาคำทาย การรองเพลง ทองคําคลองจอง หรือแนะนําอุปกรณในการทํากิจกรรม อยางใดอยางหนึ่ง เพื่อกระตุนใหผูเรียนเกิด ความสนใจในกิจกรรม
       2. ขั้นดําเนนกิจกรรม เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรม โดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการทํากิจกรรม โดยการทา การโรย การวาด การเขียน ตามความคิดและจินตนาการของตนเอง โดยครูมีหนาที่ในการแนะนํา และกระตุนใหเด็กไดสังเกตและจําแนก เปรียบเทียบ จัดหมวดหมูวัตถุดิบ และ อุปกรณที่นํามาใชทํากิจกรรม และเมื่อทําเสร็จแลวเด็กชวยกันเก็บอุปกรณและทําความสะอาด
       3. ขั้นสรุป เด็กเลาถึงชิ้นงานของตนเอง เด็กและครูรวมกันสรุปถึงกิจกรรมในวันนี้ 

    เลขที่ 25  โทรทัศน์ครูเรื่อง การสอนคณิตศาสตร์กับเด็กๆอนุบาล 1 - 3
                                      สรุป สอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย ผ่านการเล่น ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจากสื่อที่น่าสนใจ และเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม


วิธีการสอน

       อาจารย์มีการใช้คำถามทบทวนความรู้ที่ได้เรียนมา คือ สติปัญญานอกจากด้านการคิดแล้วเป็นด้านใด มีการให้ข้อเสนอแนะ อธิบายเพิ่มเติมจากการนำเสนอของนักศึกษา และใช้สื่อ power point ในการบรรยาย 


ประเมิน

สภาพห้องเรียน
เทคโนโลยีภายในห้องเรียนพร้อมต่อการใช้งาน เก้าอี้เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา อากาศภายในห้องถ่ายเท

ตนเอง
เข้าชั้นเรียนตรเวลา ตั้งใจเรียน แสดงความคิดเห็น และจดบันทึก สรุปเนื้อหาที่อาจารย์สอน

เพื่อน
เข้าชั้นเรียนตรงเวลา แสดงความคิดเห็น และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

อาจารย์
อาจารย์ให้ความเป็นกันเอง บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม การแต่งกายสะอาดสะอ้าน และเป็นระเบียบเรียบร้อย พูดเสียงดังชัดถ้อยชัดคำ เข้าสอนตรงเวลา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม แสดงความคิดเห็น

วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่ 11 วันพุธที่ 25 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน

องค์ความรู้
             
          นำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมาย
                สาระที่ 2 การวัด
             

  คำคล้องจอง

ไม้บรรทัด ของฉัน อันยาว เท่านี้
 ดินสอ ของพี่ สันกว่า ใช่ไหม
ยางลบ ของน้อง ยิ่งสัน ลงไป 
ไม้บรรทัด นี้ ไง ยาวกว่า ใครเลย 


นิทาน
เรื่อง มดน้อยเดินเรียงแถว

         เช้าที่สดใส เจ้ามดน้อยออกหาอาหาร " ที่นี้ช่างเสียงดัง และมีมุษย์พลุงพล่านเหลือเกิน " มดตัวเล็กสุดในกลุ่มพูด มดตัวใหญ่จึงพูดว่า " เจ้ามดน้อย... เจ้าเพิ่งเคยมาที่แห่งนี้เป็นครั้งแรก ที่นี้คือ ตลาด เป็นที่ซื้อหาอาหารของมนุษย์ " " มนุษย์ตัวใหญ่ ตัวสูง เขาจะทำร้ายพวกเราไหม " มดตัวเล็กสงสัย " ไม่หรอก พวกเขาไม่ทำร้ายเรา แต่ถ้าเราเดินบนทางเดินของเขาพวกเขาอาจยืบเราได้ เพราะเราตัวเล็กมนุษย์มองไม่เห็น " มดใหญ่พูด มดน้อยเดินแถวเป็นระเบียบ โดยมีมดตัวใหญ่นำทาง มดตัวกลาง และมดตัวเล็กเดินแถวเรียงเป็นลำดับ พวกมันเดินมาหยุดที่หน้าร้านขายขนมไทย ที่มีขนมไทยเรียงรายอยู่หลายอย่างสีสันน่าทาน ซึ่งมีเด็กชายตัวอ้วนกลมยืนซื้อขนมอยู่หน้าร้าน เด็กชายอดใจไม่ไหวจึงยืนทานขนมด้วยความมูมมาม เศษขนมตกลงพื้นมีทั้งชิ้นขนาดเล็ก ใหญ่ แตกต่างกันไป เจ้ามดตัวเล็กเห็นดังน้ัน จึงรีบเดินเข้าไปหาเศษขนมทันที มันพยายามออกแรงดึงเศษขนมชิ้นใหญ่ " อึ๊บ อึ๊บ อึ๊บบบ " เศษขนมขยับได้ทีละน้อย และตัวของมันก็ล้มลุกคลุกคลาน " เจ้ามดน้อย ตัวเจ้าเล็กนิดเดียวจะเอาแรงที่ไหนมาลากเศษขนมชิ้นโตนี้ได้  " มดตัวใหญ่พูด " ใช่แล้ว ดูฉันซิตัวไม่ใหญ่ ไม่เล็กก็ลากเศษขนมที่มีขนาดเท่าๆกับฉัน " " เจ้าตัวเล็กแถมยังไม่เคยลากอาหารเลย เจ้าลอกลากชิ้นที่เล็กกว่าเจ้าดูซิ " มดตัวใหญ่บอก " ชิ้นนี้ฉันจะจัดการเอง " มดตัวใหญ่ลากเศษขนมชิ้นใหญ่กว่าตัว มันลากได้สบายเพราะมดตัวใหญ่มีแรงเยอะ แข็งแรง ทั้งสามตัวเดินเป็นแถว โดยมีมดตัวเล็กลากเศษขนมชิ้นเล็กกว่าตัว มดตัวกลางลากเศษขนมชิ้นเท่ากับตัว และมดตัวใหญ่ลากเศษขนมชิ้นใหญ่กว่าตัว เดินกันเป็นแถวเรียงจากเล็กไปหาใหญ่ กลับรังอย่างมีความสุข...



ปริศนาคำทาย
         
ฉันมืดตึดตือ มีดาวประดับ ผู้คนหลับไหล ฉันคือเวลาใด ?


ฉันสว่างเจิดจ้า ท้องฟ้าสดใส ฉันคือเวลาใด ใครรู้ตอบที...


ฉันเป็นเหรียญ ทำด้วยโลหะ มีค่ามากสุด ฉันคือเหรียญใด ?


วันประจำฉันนั้น เป็นวันหยุด ทุกคนต่างสุข สรวญเสเฮฮา 
สีประจำวัน สีแดงเจิดจ้า รู้ไหมเล่าหนา ฉันวันอะไร ?

วันอาทิตย์

สวัสดีเธอจ๋า รู้ไหมว่าฉันวันอะไร สีฉันนั้นสดใส สีเหลืองไง ใครรู้ตอบที...

วันจันทร์

สีประจำวัน ฉันนั้นแสนหวาน ชมพูเบิกบาน ช่างหวานเหลือใจ 
นับวันมาเรียน วันที่สองไง ใครรู้เข้าใจ ฉันวันอะไร ใครตอบฉันที...

วันอังคาร

สีประจำวันฉัน นั้นคือสีเขียว เพื่อนๆกลมเกลียว รักใคร่กันดี 
พอนับถึงวัน ฉันลำดับสี่ ของสัปดาห์นี้ คือวันอะไร ?

วันพุธ

ถึงวันของฉัน นั้นมีสีส้ม ต่างคนต่างชม ว่าสีสวยดี 
บ้างเรียกสีแสด ไม่แปลกหรอกพี่ รู้ไว้ก็ดี ตามสีของฉัน 
นั้นวันอะไร ?

วันพฤหัสบดี

ฉันเป็นวันสุด ท้ายของการเรียน เพื่อนๆอ่านเขียน เรียนมาตั้งนาน 
พอถึงวันฉัน ทุกคนชื่นบาน สีฟ้าสำราญ ฉันวันอะไร ?

วันศุกร์

สีประจำวัน ฉันนั้นสีม่วง แต่ไม่ต้องห่วง ฉันแสนสบาย 
เป็นวันหยุดเรียน เลยนอนตื่นสาย ให้ช้วยกันทาย ฉันวันอะไร ?

วันเสาร์
ทักษะ
    
        - การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
        - การแก้ปัญหา นำความรู้เดิมมาปรับใช้ เปลี่ยนแปลงในการสร้างผลงาน
        - การคิดสร้างสรรค์ สร้างผลงานที่แปลกใหม่ น่าสนใจ ให้เด็กอยากที่จะเรียนรู้
        - การสร้างสัมพันธภาพระหว่าบุคคล การทำงานร่วมกับผู้อื่นต้องอาศัยความเข้าใจ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และการรับฟังความคิดของผู้อื่นภายในกลุ่ม ซึ่งจะนำมาซึ่งความสำเร็จของผลงาน




วิธีการสอน

       ให้ข้อเสนอแนะ อธิบายเพิ่มเติมจากการนำเสนอของนักศึกษา 


ประเมิน

สภาพห้องเรียน
เทคโนโลยีภายในห้องเรียนพร้อมต่อการใช้งาน เก้าอี้เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา อากาศภายในห้องถ่ายเท

ตนเอง
เข้าชั้นเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอผลงาน  จดบันทึก และสรุปเนื้อหาที่อาจารย์สอน แนะนำ

เพื่อน
เข้าชั้นเรียนตรงเวลา ตั้งใจเพื่อนนำเสนอผลงาน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

อาจารย์
อาจารย์ให้ความเป็นกันเอง บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม การแต่งกายสะอาดสะอ้าน และเป็นระเบียบเรียบร้อย พูดเสียงดังชัดถ้อยชัดคำ เข้าสอนตรงเวลา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม แสดงความคิดเห็น

วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่ 10 วันศุกร์ที่ 20 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน

องค์ความรู้
            
            ได้รับมอบหมายงาน คือ
                 1. แบ่งกลุ่มออกเป็น 8 กลุ่ม 
                 2. แต่งนิทาน คำคล้องจอง และปริศนาคำทายตามมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย ทั้ง 6 สาระโดยเลือกมากลุ่มละ 1 สาระ 
                   
                   ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น
                       สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ                           จำนวน 2 กลุ่ม
                       สาระที่ 2 การวัด                                                      จำนวน 1 กลุ่ม
                       สาระที่ 3 เรขาคณิต                                                 จำนวน 2 กลุ่ม
                       สาระที่ 4 พีชคณิต                                                   จำนวน 1 กลุ่ม
                       สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น          จำนวน 1 กลุ่ม
                       สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์        จำนวน 1 กลุ่ม



ทักษะ
    
        - การแก้ปัญหา แบ่งกลุ่มโดยการจับฉลาก เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมและยุติธรรม
        - การตัดสินใจ มอบหมายงานโดยตระหนักถึงความสามารถของตนเอง และเพื่อนร่วมกลุ่ม
        - การจัดการกับอารมณ์ ซึ่งการทำงานร่วมกันหย่อมที่จะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน การใช้เหตุผลพูดคุย อธิบายแทนการใช้อารมณ์ จะส่งผลให้ผลงานที่ทำเสร็จสมบูรณ์ตรงเวลา และความสัมพันธ์ขอลเพื่อนก็ยังคงอยู่